วิธีหมักผมด้วยน้ำมันมะพร้าว วิธีหมักผมสวยด้วยน้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ

วิธีหมักผมด้วยน้ำมันมะพร้าว วิธีหมักผมสวยด้วยน้ำมันมะพร้าวธรรมชาติ

ความเป็นมาของการใช้น้ำมันมะพร้าวหมักผม ชาวเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ได้ใช้น้ำมันมะพร้าวชโลมเส้นผมมาเป็นเวลาช้านาน ทำให้เส้นผมแข็งแรง มีน้ำหนัก และดกดำเป็นเงา มีความเงางามเป็นธรรมชาติ ทั้งๆที่ชาวเกาะเหล่านี้ ทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อเส้นผม เช่น มีแสงแดดแผดกล้า แดดแรงมาก และดำน้ำ จับสัตว์น้ำ เส้นผมสัมผัสกับไอทะเลทั้งวัน แต่สุขภาพเส้นผมของชาวเกาะเหล่านี้ก็ดีเป็นเลิศ ไม่มีชนชาติใดเสมอเหมือน

 

ความเชื่อที่ว่าน้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้ผมดกดำเป็นเงางามนั้นได้มีการสนับสนุนด้วยการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งพบว่าน้ำมันมะพร้าวสามารถแก้ไขการถูกทำลายเส้นผมด้วยการหวีผม และช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดีการศึกษาดังกล่าวได้มีรายงานไว้ในวรสารวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเกี่ยวกับบทบาทของน้ำมันมะพร้าวต่อสุขภาพของเส้นผม (Rele and Mohile2003)

 

องค์ประกอบของเส้นผม เส้นผมเกิดจากการเจริญเติบโตของเซลล์ผลิตเส้นผม ซึ่งอยู่ในชั้นหนังแท้ ใต้ผิวหนังศีรษะ เมื่อเซลล์เจริญเติบโตขึ้นเส้นผมจะถูกผลักขึ้น เกิดเป็นส่วนที่ตายแล้ว และยืดยาวออกไปเรื่อยๆ เส้นผมประกอบด้วย ส่วนนอก (Cuticle) ที่ทำหน้าที่หุ้ม ส่วนใน (cortex) ทั้งสองส่วนมีความสสำคัญต่อสุขภาพของเส้นผม กล่าวคือหากส่วนนอกอยู่ในสภาพที่ไม่ฉีกขาด เส้นผมก็จะปกติ มีความยืดหยุ่น ทนทานต่อการบิดงอ และมีความเหนียว ส่วนในประกอบด้วยโปรตีนที่เรียกว่า เคอราทิน ที่ประกอบด้วยเส้นเล็กๆ มัดรวมกัน

 

สาเหตุที่ทำให้เส้นผมเสื่อมสภาพ หรือผมเสีย

โปรตีนของเส้นผมจะสูญเสีย หรือสลายไปตามอายุขัย แต่อาจเร็วขึ้นจากการไม่รักษาผมให้ดี และการทำร้ายเส้นผม เช่นการดัดผม การย้อมผมด้วยน้ำยาเคมี แม้กระทั่งการหวีผม ที่ใช้หวีที่คม เส้นผมที่เสื่อมลงไป มีดังนี้

  1. ผมแห้งแตกปลาย เส้นผมจะแห้งไม่มีน้ำหนัก เพราะขาดโปรตีน ส่วนปลายของเส้นผมจะแตกเป็นสองเส้น
  2. ผมร่วง (alopecia) บนศีรษะจะมีเส้นผมอยู่ประมาณ 120,000 เส้น ในแต่ละวัน ผมจะร่วงตามอายุขัยประมาณ 100 เส้น ถือว่าเป็นการร่วงตามปกติ แต่ถ้ามากกว่านั้น เป็นอาการของโรคผมร่วง ซึ่งจะนำไปสู่อาการผมบาง และหัวล้านในที่สุด ปัจจัยที่ทำให้ผมร่วงมีมากมาย แต่ที่สำคัญ ที่เป็นเรื้อรังกว่าร้อยละ 80 อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า androgenetic alopecia เกิดจากอิทธิพลของฮอร์ดมนเพศชายและพันธุกรรมร่วมกัน
  3. ผมบาง หัวล้าน (baldness) เป็นอาการที่เกิดต่อเนื่องจากผมร่วง แต่ส่วนใหณืเกิดจากพันธุกรรม นอกจากในบางกรณี อาจเกิดจากสารเคมี เช็นการใช้เคมีบำบัดโรคมะเร็ง
  4. ผมหงอกก่อนวัย (premature gray hair) เซลล์เส้นผมเป็นเซลล์เมลาโนไซต์ ที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน ได้สองโทนสีคือสีเหลืองปนแดง และน้ำตาลปนดำ ความแตกต่างในสีผมขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ และพันธุกรรม ที่ทำให้มีการผลิตเม็ดสีออกมาในสัดส่วนต่างๆ  เมื่ออายุมากขึ้นรากผมจะค่อยๆเสื่อม ทำให้ผมบางลง พร้อมกับผลิตเม็ดสีลดลงเรื่อยๆ จนไม่ได้เลย ทำให้เส้นผมเป็นสีขาว จนเป็นผมหงอกแต่ในบางคนผมอาจจะเป็นหงอกก่อนวัย อาจเป็นเพราะ กรรมพันธุ์ อรุมูลอิสระ และเป็นโรคบางอย่าง เช่นโรคกระดูกพรุน โรคหลอดเลือดหัวใจ
  5. รังแค รังแคเป็นสะเก็ดสีขาวบนหนังศีรษะ เกิดจากเซลล์หนังศีรษะชั้นนอกสุดลอกหลุดออกมา เกิดจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุใหญ่เกิดจากเชื้อยีสต์ที่เจริญเติบโตบนหนังศีรษะ และบางครั้งก็เจริญเติบโตรวดเร็วผิดปกติ มีการแบ่งตัวเร็วขึ้น และมีเซลล์ที่ตายแล้วอยู่บนหนังศีรษะ ทำให้เกิดรังแค มีอาการคัน และมีกลิ่นเหม็น ระคายเคืองผิวหนังศีรษะ ตามมาด้วยการเกาอย่างรุนแรง ผลที่ตามมาคือผมร่วง

น้ำมันมะพร้าวมีบทบาทกับเส้นผมอย่างไรบ้าง

  1. น้ำมันมะพร้าวช่วยให้เส้นผมมีสุขภาพดี น้ำมันมะพร้าวช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวมีความคล้ายคลึงกับโปรตีนของเส้นผม จึงยึดเกาะเส้นผมได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดเล็กจึงแทรกซึมเข้าไปในเส้นผมได้สะดวก ในขณะที่น้ำมันดอกทานตะวันและน้ำมันแร่ (mineral oil) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมน้ำมันใส่ผมหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าน้ำมันบำรุงเส้นผม ไม่ได้มีส่วนช่วยบำรุงเส้นผมแต่อย่างใด หรือเข้าบำรุงได้น้อยมาก เพราะไม่สามารถซึมเข้าไปในเส้นผมได้เหมือนน้ำมันมะพร้าว
  2. ช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ น้ำมันมะพร้าวช่วยช่วยรักษาสุขภาพของหนังศีรษะ เพราะน้ำมันมะพร้าวมี สารปฏิชีวนะ กรดไขมันขนาดกลางในน้ำมันมะพร้าวโดยเฉพาะกรดลอริก มีฤทธิ์เป็นสารปฏิชีวนะที่สามารถกำจัดเชื้อยีสต์ ที่ทำให้เกิดรังแค และ มีสารต่อต้านการเติมออกซิเจน น้ำมันมะพร้าวมีแอนตี้ออกซิแดนต์ ในปริมาณสูง โดยเฉพาะวิตามินอีที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าที่มีอยู่ในเครื่องสำอางถึง 40-60 เท่า สารต่อต้านการเติมออกซิเจน ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระที่ทำอันตรายต่อหนังศีรษะ ดังนั้นศีรษะจึงไม่เกิดการเหี่ยวย่น แต่กลับมีสุขภาพดี เป็นผลให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดี

 

น้ำมันมะพร้าวทำอะไรกับเส้นผม?

น้ำมันมะพร้าวทำให้เส้นผมสวย ด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. ช่วยทำให้เส้นผมมีน้ำหนัก และดกดำเป็นเงางาม จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี และช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเส้นผม น้ำมันมะพร้าวจึงทำหน้าที่เป็นสารปรับสภาพของเส้นผม (hair conditioner) อย่างยอดเยี่ยม ช่วยให้เส้นผมมีน้ำหนักและดกดำเป็นเงางาม

  2. เส้นผมไม่แห้ง แตกปลาย จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดี โดยช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม ทำให้เส้นผมไม่แห้ง แดง แตกปลาย

  3. ผมไม่ร่วงก่อนวัย จากการที่น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้เส้นผมมีสุขภาพดีโดยช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม ยังทำให้เส้นผมไม่ร่วงก่อนวัย หรือไม่ร่วงเยอะเกินกว่าการร่วงปกติขิงเส้นผม แม้กระทั่งผู้ที่ผมร่วงเพราะพันธุกรรมน้ำมันมะพร้าวก็ช่วยได้ หากใช้เมื่อเริ่มผมร่วง

  4. ผมไม่หอก หากผมของท่านเริ่มเป็นหงอก เมื่อใช้น้ำมันมะพร้าวหมักผม เส้นผมใหม่ที่งอกออกมาจะกลับมาดกดำ แม้แต่เพียงจากการใช้เป็นครังแรก ท่านก็จะพบว่าเส้นผมนั้น มีน้ำหนักและดกดำยิ่งขึ้น

วิธีหมักผมด้วยน้ำมันมะพร้าว

รินน้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชาลงบนฝ่ามือ แล้วชโลมลงบนหนังศีรษะและนวดคลึงเส้นผม จากนั้นคลุมด้วยหมวกที่ใช้คลุมตอนอาบน้ำ หลังจากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 1 – 2 ชั่วโมง ต่อจากนั้นก็สระผมด้วยแชมพูน้ำมันมะพร้าวโคโคเน่ และตามด้วยครีมนวดผมน้ำมันมะพร้าวโคโคเน่ สูตรเฉพาะจากมะพร้าวธรรมชาติ หากได้หมักผมเป็นประจำ เส้นผมจะยิ่งอ่อนนุ่มเป็นอย่างมาก และดกดำเป็นเงางาม โดยไม่ต้องไปทำทรีทเม้นท์ราคาแพงๆอีกเลย เพียงแค่ใช้ 1 น้ำมันมะพร้าว 1 แชมพูโคโคเน่ 1 ครีมนวดโคโคเน่ ลองนำสูตรนี้ไปลองใช้ดูนะคะ

มองหาน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นและแชมพูครีมนวดผมจากโคโคเน่ได้ที่ช่องทางด้านล่าง
มีจำหน่ายที่Tops Market / Amway shop /Big-c ทุกสาขาใกล้บ้าน
—————————————————-
หรือสั่งซื้อผ่านออนไลน์ที่
Line ID > @koconae_thailand
หรือคลิก > https://lin.ee/PbI5F6r
สั่งผ่าน Lazada > https://bit.ly/3qzoy6j
สั่งผ่าน Shopee > https://bit.ly/3qf74Mi

 

ผู้เขียน

Admin  Panuwat

Coconut Oil specialist

nutrition management

Marketing

 

Ref. (หนังสือ มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว อาหารเป็นยา กิน ดื่ม บ้วน ทา รักษาโรค, Dr. ณรงค์ โฉมเฉลา) / (Virgin Coconut Oil Nature’s Miracle Medicine, Dr. Bruce Fife)

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

https://bit.ly/3PVPyqx